ReadyPlanet.com
เรียนรู้จากเวียดนาม เรื่องใบเหลืองจากอียูกรณี IUU article

 

TP10-3333-1B

อุตสาหกรรมการประมง เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำรายได้ให้แก่ไทย เนื่องด้วยสินค้าจากอุตสาหกรรมการประมงสามารถสร้างรายได้ให้แก่ภาคการส่งออกของประเทศถึงกว่า 60,000 ล้านบาทต่อปี มีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนกว่า 9% จากมูลค่าของอุตสาหกรรมภาคเกษตรกรรมโดยรวมของไทย (กสิกรรม ปศุสัตว์ และประมง) แต่หากพิจารณาถึงอุปสรรคของอุตสาหกรรมการประมงไทยก็จะพบว่า หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบอย่างหนัก คือ ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing Measures - IUU)

การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) มีที่มาเริ่มต้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 (UN Convention on the Law of the Sea - UNCLOS) ข้อ 61 ที่ว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์ และ ข้อ 62 ที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์นํ้าอย่างยั่งยืน และจรรยาบรรณว่าด้วยการทำประมงอย่างรับผิดชอบ (FAOs Code of Conduct for Responsible Fisheries: CCRF) ซึ่งองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO) กำหนดขึ้น เนื่องจากแหล่งทำการประมงของโลกกำลังถูกทำลายด้วยการทำประมงที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้จำนวนสัตว์นํ้าในทะเลลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าธรรมชาติจะผลิตขึ้นมาทดแทนใหม่ได้ทัน และส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเนื่องไปถึงระบบห่วงโซ่อาหารและความสมดุลทางระบบนิเวศทางทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีข้อตกลงร่วมกันในประเทศสมาชิก FAO ให้นำ แผนปฏิบัติการสากลว่าด้วยการป้องกัน ลด และเลิกการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (FAOs International Plan of Action on Prevent, Deter, and Eliminate Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing Measures : IPOA-IUU) ไปปฏิบัติใช้

 

TP10-3333-2B

หลังจากมีแผนปฏิบัติการสากลดังกล่าวออกมา สหภาพยุโรป (EU) ซึ่งถือเป็นภูมิภาคสำคัญที่นำเข้าสินค้าประมงจากนอกภูมิภาค คิดเป็นสัดส่วน 24% จากมูลค่าสินค้าประมงทั่วโลก ได้นำแผนการนี้ไปพัฒนาต่อยอดอย่างจริงจัง เพื่อแสดงจุดยืนต่อการทำประมงที่ผิดกฎหมาย จนออกมาเป็นแผนปฏิบัติการของตนเองในชื่อ EU IUU Regulation ซึ่งมีผลกระทบต่อไทย โดยสหภาพยุโรปตรวจพบว่า ไทยมีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม จึงได้ออก “ใบเหลือง” แก่ไทยเมื่อปี 2558 ที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสินค้าประมงไทยเป็นอย่างมาก และหากสถานะของไทยเลื่อนเข้าสู่ “ใบแดง” ก็จะเกิดภาวะกีดกันทางการค้า สินค้าประมงจากไทยจะไม่สามารถส่งเข้าสู่ตลาดในสหภาพยุโรปได้อีกต่อไป ซึ่งรัฐบาลไทยมิได้นิ่งนอนใจ แต่ได้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อยกระดับการทำประมงของไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่ไทยเท่านั้นที่ได้รับการเตือนดังกล่าว ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างเวียดนาม ก็ได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรปด้วยเช่นกัน โดยสหภาพยุโรปได้ออกใบเหลืองให้เวียดนามเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา (2560) ทำให้รัฐบาลเวียดนามเร่งออกมาตรการที่ตั้งเป้าหมายให้สหภาพยุโรปถอนการออกใบเหลืองภายใน 6 เดือน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

TP10-3333-3B

1. สภาแห่งชาติเวียดนาม มีมติรับรองกฎหมายประมงฉบับปรับปรุงที่ได้เพิ่มมาตรการส่งเสริม การพัฒนาทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการของกระทรวงเกษตรกรรม และการพัฒนาชนบทเวียดนาม (The Ministry of Agriculture and Rural Development - MARD) ที่สอดคล้องกับคำแนะนำของสหภาพยุโรป ทั้งนี้กฎหมายที่ปรับปรุงจะมีผลบังคับใช้กับบริษัทส่งออกของเวียดนาม และบริษัทของต่างชาติ

2. กฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ ได้กำหนดค่าปรับกรณีทำประมงผิดกฎหมายในระดับที่สูงมาก โดยเจ้าของเรือประมงและกัปตัน จะมีโทษปรับสูงสุดถึง 1 พันล้านด่อง (หรือประมาณ 1.43 ล้านบาท) หรือจ่ายค่าปรับ 7 เท่าของมูลค่าสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมาย จะมีโทษปรับสูงสุดถึง 2 พันล้านด่อง (หรือประมาณ 2.86 ล้านบาท) รวมทั้งจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมง

3. ท่าเรือจะควบคุมการเข้าออกของเรือประมง และปริมาณอาหารทะเลที่ออกจากท่าเรือ โดยใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมในการจัดทำระบบข้อมูล รวมทั้งลูกเรือประมงจะต้องมีความรู้ ความ เข้าใจในเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำ ที่เข้าข่ายลักษณะดังกล่าว

แน่นอนว่าลักษณะปัญหาของแต่ละประเทศย่อมมีความเหมือนและความต่างกันในรายละเอียด เนื่องด้วยความแตกต่างในลักษณะการทำประมง ซึ่งในเรื่องนี้ภาครัฐ ภาคเอกชน การประชาสังคมในประเทศ จำเป็นต้องสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในและนอกภูมิภาค เพื่อลดการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล สร้างคุณภาพชีวิตลูกเรือประมงที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมประมงที่สร้างรายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาลอีกด้วย

 

 




ข่าวสารน่ารู้

คาดกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ได้รับผลบวกจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน article
กกร.ชี้ผลกระทบข้อพิพาทการค้าสหรัฐฯ-จีนส่งผลจำกัดต่อส่งออกไทย article
'ทุนฝรั่ง' จ่อเข้าเอเชีย! จับตา 'สหรัฐฯ' กีดกันการค้า เขย่าตลาดหุ้นโลก article
เงินบาทแข็งค่าเป็ด 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ สงครามการค้ากดดันตลาดการเงินระยะสั้น article
เปิดศึกกีดกัน 'สหรัฐ-อียู' ลุย ไทยถูกลูกหลง! article
สงครามการค้าตั้งเค้า หลัง‘ทรัมป์’เสนอรีดภาษีเหล็กนำเข้า article
พาณิชย์ปลื้ม!! ส่งออกเดือน ม.ค. พุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี article
กสิกรไทยประเมินกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า(19-23 ก.พ.) ที่30.70-31.40 บาทต่อดอลล่าร์ฯ
ผ่าโครงสร้าง “ค่าแรงขั้นต่ำ” “SMEs-ธุรกิจบริการ-เกษตร” กระทบหนักสุด article
ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี’61 ทุกจังหวัด 5-22 บาท กระทบศก.ไทยในวงจำกัด article
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 สดใส ส่งออกและลงทุนภาครัฐคือกลจักรสำคัญ article
เหล็กขึ้นราคา รับเหมาก่อนสร้างจุก article
ทำไมไทยต้องเข้า TPP l โอฬาร สุขเกษม article
พาณิชย์กางแผนส่งออกปี 59 มุ่ง 50 เมืองจีดีพีสูงเป้าโต 4% article
เหล็กเส้นร้อง'ประยุทธ์'ช่วยด่วน หลังสมอ.ไฟเขียวเทรดเดอร์ 2 รายนำเข้าจากจีนดัมพ์ราคา article
เวียดนามคึกคัก ร่วมประชาคมเครษฐกิจอาเซียน article
ไตรมาส 3 'สหวิริยา' อ่วม บุ๊คด้อยค่า SSI UK 2.7 หมื่นล. article
‘ทียูเอฟ’ลุยซื้อกิจการต่อเนื่อง
คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นฉุดทองคำปิดร่วง
ไทยออยล์รายงานราคาน้ำมันดิบ 7 พ.ย.
รมว. คลังชี้ต้องปฏิรูปภาษีอย่างจริงจัง
มะกันคว่ำบาตรหมีส้มหล่นไทย
หุ้นเทสโกดิ่งต่ำสุดรอบกว่า11 ปี ส่วนมูลค่าทางการตลาดของบริษัทลดลง 178 ล้านปอนด์
เทสโก้ เครือข่ายค้าปลีกโลก สัญชาติอังกฤษ เผชิญภาวะขาลง ทั้งกำไรร่วง เจอเรื่องอื้อฉาวแจงกำไรสูงเกินจริง
พานิชย์จับมือเอกชนดันส่งออกโตยั่งยืน
อัดงบจัดแสดงสินค้าในภูมิภาค
บริษัท เจเอฟ อี สตีล จำกัด ผู้ผลิตแผ่นเหล็กเคลือบจากดินแดนอาทิตย์อุทัย ถอนการลงทุนจากเวียดนามแล้ว
โลกจับตา สกอตแลนด์ลงประชามติแยกตัวจากอังกฤษวันนี้
ลุยหักด่านอียู-สหรัฐ แนะทุกฝ่ายหันคบค้าพันธมิตรเอเชียทั้งจีน ญี่ปุ่น อาเซียนเพิ่มขึ้น article
ผวา โอบามา คว่ำบาตร เอกชนเครียด 2 แรงบวกทุบส่งออก/เชื่ออียู - มะกันไม่กล้าตัดสัมพันธ์ไทย article
พาณิชย์ ทำโรดแมพเร่งด่วน เอกชนขนทีมบินเจรจาสหรัฐ ถอด กุ้ง-ทูน่า พ้นบัญชีค้ามนุษย์ article
ลดชั้นต่ำสุด ไทยค้ามนุษย์ article
ส่งออกผวา GSP มะกันหมดอายุ article
การเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรปกับความมั่นคงทางอาหาร article
ส่งออกกุ้งสาหัสขาลงรอบ 25 ปี article
ทัพธุรกิจไทยตะลุยเวียดนาม article
ส่งออกกุ้งดิ้นสู้ 'ซีวีดี'มะกันห่วงอินเดียบวกอินโดฯแซง article
ส่งออกโวย 4 สายเดินเรือต่างชาติ article
3 สถาบันมองต่างพณ.หดส่งออก article
จี้คลัง-ธปท.ดังกฎคุมบาทชี้ 'สงออก-บริโภค'Q2 ยังเสี่ยงชะลอตัวถึงติดลบ article
พรานทะเลเปิดตัว 'ข้าวมือถือ' article
รวมหัวถล่มแบงก์ชาติ! ภาคผลิตชี้ 30 บ. ต่อดอลลาร์เหมาะสม article
เอกชนชง 5 มาตรการเสนอแบงค์ชาติ-คลัง ช่วย ผปก.กระทบบาทแข็ง article
อุตฯชงครม.23 เม.ย.เสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจ้างงานขั้นต่ำ 300 บ. article
2 ล้านล. ซ้ำแรงงาน เล็งปั้น 'แขกขายโรตี' เป็นโฟร์แมน/จี้รัฐนำเข้าทดแทน article
ลุ้น 2 เดือนกุ้งไทยพ้นวิกฤติ EMS article
แนะซื้อประกันความเสี่ยงรับวิกฤติไซปรัส article
ซีพีลุยขยายลงทุนกัมพูชา-ลาว article
ด่านสิงขรเปิดถาวรเม.ย.ยันพม่าไฟเขียวแล้ว article
เส้นทางเบอร์ 1 กุ้งโลกก้าวต่อไปยิ่งสุงยิ่งหนาว
ธุรกิจเชียร์ 'โอบามา' หวังมะกันสานต่อคิวอี 3โด๊ปศก./หวั่น 'รอมนีย์' กร้าวทำโลกระอุ article
สเปน แบนปลาทูน่ากระป๋อง 5 ชาติเตือนไทยพบสารตกค้าง article
วิกฤติยุโรปป่วน! อุตฯเหล็กทั่วโลก
ทุกสำนักแห่หั่นเป้าจีดีพี สัญญาณร้ายส่งออก-การบริโภคทรุดเกินคาด
สภาธุรกิจไทยฯ เปิด 9 อุตฯ รับก.ม.ลงทุนใหม่ของพม่า
ทูน่ากระป๋องอ้อนรัฐช่วย article
อาหารไทยไม่พ้นพิษยูโรโซน คาดโต 5.1%
เพื่อเป้าส่งออก 15% มิสชัน อิมพอสสิเบิล article
เอกชนผวาแรงงานพม่าขาด article
ราชาทูน่าโลก "ธีรพงศ์ จันศิริ" จากผู้ผลิตสู่เจ้าของแบรนด์ดัง article
รีแพรนด์ 'ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น' ผู้เชี่ยวชาญอาหารทะเลโลก article
ส่งออกไตรมาส 2 อ่วม กุ้งไก่สับปะรดกระอัก article
วิสัยทัศน์ รมต.คลัง สั่งบาทอ่อนส่งออกโต อย่ามองโลกด้านเดียว article
วัตถุดิบทูน่าส่อวิกฤต article
ชง ปู2 ดันเหล็กต้นน้ำแสนล.
เช็คราคาเหล็กปีนี้มี 2 ปัจจัยกดดัน
'ซีแวลูกรุ๊ป'ลั่นผงาดรับปีมังกร article
มาม่า-ปุ้มปุ้ยรับอทุกภัยเพิ่มกำลังผลิตเต็มสูบ article
ปุ้มปุ้ยแตกไลน์ผลิต article
ส่งออกเครียดมะกันยื้อจีเอสพี
พาณิชย์หวังสูงส่งออกโต 20 %



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

 
 


บริษัท โอเรียนเต็ลแคน จำกัด

สำนักงานใหญ่
18/24 หมู่ 5 ซอยต้นสน ถนนเศรษฐกิจ ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 Tel: (0) 3446 8899 Fax: (0) 3483 1028
สาขาหาดใหญ่ 92 หมู่ 4 ถนนสายเอเชีย 43 ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา 90310 Tel: (0) 7453 6335 Fax: (0) 7453 6489
www.orientalcan.com