ReadyPlanet.com
รวมหัวถล่มแบงก์ชาติ! ภาคผลิตชี้ 30 บ. ต่อดอลลาร์เหมาะสม article

ธปท.ลดดบ.นโยบาย  นายกฯสั่งรมว.คลัง-หน่วยงานศก.ดูแลใกล้ชิดหวั่นบาทแข็งทุบ 27 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ  ด้านอุตฯรายสาขา กระอั่กพล่านวิ่งปรับแผน  ค่ายรถรุดเจรจาลูกค้าตปท.ขอปรับราคาขึ้น  ลดจำนวนส่งออก หั่นป้อนในไทยก่อน  กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าฯเล็งซบอิเหนาแหล่งลงทุนใหม่   หอการค้าไทย ชี้ส่งออกปี 56 เสี่ยงโตเพียง 3  % หากบาทแข็งแตะ 27 บาท  ขณะที่โบรกฯ จ่อหั่นเป้ากำไจบจ.

    จากสถานการณ์ที่เงินบาทแข็งค่าทุบสถิติใหม่อย่างต่อเนื่องที่ระดับ 28.50/28.75  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ฯ   โดยแข็งค่าขึ้นถึง 6.86  จากสิ้นปี 2555 ( 28 ธันวาคม 2555  )ที่เงินบาทปิดที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ  ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2556 เงินบาทปิดที่ 28.81-28.83. บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
*นายกฯสั่งดูแลภาคส่งออกใกล้ชิด
    ต่อสถานการณ์ดังกล่าว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี  ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าว ถึงสถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาท ที่หลายฝ่ายห่วงว่าบาทจะแข็งค่าแตะ 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯว่า รัฐบาลมีความเป็นห่วง จึงต้องให้ทุกหน่วยงานทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่  โดยหวังว่าทุกหน่วยงาน ทุกกลไกทางด้านเศรษฐกิจจะช่วยกันทำหน้าที่ของตนเอง 
    ส่วนมาตรการในการดูแลเงินบาท  รัฐบาลได้สั่งการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลผู้ประกอบการธุรกิจส่งออก และได้ย้ำให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงรัฐมนตรีที่ดูแลทางด้านเศรษฐกิจ ลงไปหารือเพื่อช่วยเหลือบริษัทที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีจะมีมาตรการแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อไม่ให้แข็งค่าหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ต้องถามทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะทางภาครัฐมีหน้าที่ดูแลนโยบายโดยภาพรวม ส่วนข่าวที่ว่านายกิตติรัตน์ จะปลดผู้ว่าการ ธปท.นั้น ต้องถามรมว.คลัง"ทุกคนต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ อย่ามองว่าคนนั้นสั่งคนนี้สั่ง  ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือก็จะเกิดประโยชน์  " นายกรัฐมนตรี กล่าว
    ทั้งนี้นายกิตติรัตน์  ได้เสนอให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ทบทวนพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (อาร์/พี )ลงจากปัจจุบันที่ยืนระดับ 2.75 %  (มาตั้งแต่ 17 ต.ค.55 )   โดยเห็นว่าอัตราที่เหมาะสมในปัจจุบัน ควรจะปรับลดลง 1% มาอยู่ที่ 1.75% ถึงจะสกัดเงินทุนไหลเข้าอย่างได้ผล
*"โต้ง"เมินแนวทางแก้"หม่อมเต่า"
    พร้อมกันนี้ ยังปฏิเสธที่จะยึดแนวทางการแก้ไขปัญหาเงินทุนไหลเข้า ตามที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล อดีตผู้ว่าการธปท. เสนอให้ธปท. เข้าแทรกแซงโดยการเข้าซื้อดอลลาร์ แล้วนำเงินดอลลาร์ไปตั้งกองทุนมั่งคั่งเพื่อลงทุนต่อ ว่า "ยังไม่เข็ดอีกหรือ  ที่จะให้ไปซื้อขายเงิน สู้กับกระแสของเงินไหลเข้า  ขณะที่ที่กระทรวงการคลังเสนอไม่ต้องไปสู้อะไรกับใครเลย  คือปรับระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้เหมาะสม  ดีกว่าจะใช้มาตรการอื่น ๆให้ยุ่งยาก " นายกิตติรัตน์ กล่าวและว่าในแง่ของรัฐบาลจะดำเนินการอะไรต่อหรือไม่นั้น ยืนยันว่ารัฐบาลเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ
    สอดคล้องกับนักวิชาการและผู้ประกอบการภาคส่งออก ที่เห็นว่า ค่าเงินบาทในช่วงเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา แข็งค่าและผันผวนอย่างรวดเร็ว โดยนายภาณุพงศ์ นิธิประภา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (มธ.) เปิดเผยว่า เงินบาทในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างผันผวนและแข็งค่า เนื่องจากธปท. ลดการแทรกแซงค่าเงินปล่อยให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด เห็นได้จากทุนสำรองระหว่างประเทสที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก 
    "ธปท. ในฐานะผู้กำกับนโยบายการเงิน ต้องคำนึงถึงผู้ส่งออกซึ่งเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ธปท.ตรึงไว้ที่ 2.75% ต่อปี ถือว่าสูงเกินและอาจเป็นสาเหตุทำให้เงินบาทแข็งหลุด 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯได้  โดยเห็นว่ากนง.ควรเรียกประชุมก่อนวาระประชุมตามปกติที่จะถึงในวันที่ 29 พฤษภาคม 2556  เพื่อทบทวนปรับดอกเบี้ยลง 0.25% ซึ่งเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำเพียงกว่า 2% และไม่เห็นด้วยที่จะออกมาตรการรุนแรงหรือใช้มาตรการแคปิตอลคอนโทรล (การเก็บภาษีเงินไหลเข้า) เพราะจะส่งเสียมากกว่า
    อย่างไรก็ดีนายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. และเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าว ยอมรับสถานการณ์เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ว่าเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับ เพราะเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งส่งผลให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น
    เช่นเดียวกับนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท.ระบุว่าค่าเงินบาทแข็งค่าเกินปัจจัยพื้นฐานแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับ และสะท้อนว่านักลงทุนต้องระมัดระวังต่อการแข็งค่าเงินบาทด้วย
    "ค่าเงินบาทเริ่มเข้าสู่แดนที่ทาง ธปท.มองว่าแข็งค่ามากและเร็วเกินไป นักลงทุนและ ผู้ร่วมตลาดก็ต้องให้ความระมัดระวังต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ เพราะอัตราแลกเปลี่ยนที่ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ ต้องสอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ" นายไพบูลย์กล่าว
    " ฐานเศรษฐกิจ" ยังได้สำรวจภาคการผลิตรายสาขากว่า 40 กลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นสมาชิกในสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)โดยสุ่มสำรวจบางสาขากลุ่มอุตสาหกรรมว่าจะได้รับผลกระทบ และหาทางออกอย่างไร
-ค่ายรถดิ้นสู้3แนวทาง
    นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ส.อ.ท. เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าจากการที่เงินบาทแข็งค่าจนหลุดกรอบ 29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ไปแล้ว ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ที่พึ่งพาตลาดส่งออกมากถึง 50%ของกำลังผลิตรวมที่มีราว 2.2 ล้านตันต่อปี ได้รับผลกระทบทันทีโดยรวมทำให้ผู้ส่งออกขาดทุนกำไรไปแล้ว 5-7% ส่งผลให้ค่ายรถยี่ห้อต่างๆหันมาปรับแผนการดำเนินธุรกิจใหม่ในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวนแรง
    โดยเดินหน้า 3 แนวทางด้านส่งออก แนวทางแรก เร่งเจรจากับลูกค้าต่างประเทศขอปรับราคา 2-3%  ซึ่งขึ้นอยู่กับชิ้นส่วนและอุปกรณ์นำเข้าที่มาชดเชยส่วนที่ขาดทุนจากการส่งออก  แนวทางที่สอง ปรับกลยุทธ์ด้านการผลิตและการตลาดใหม่ เช่นการเจรจากับคู่ค้าเพื่อขอลดจำนวนการส่งออกก่อนในระยะสั้น แล้วหันมาบุกตลาดในประเทศโดยป้อนรถให้กับลูกค้าที่ซื้อรถตามนโยบายรถคันแรกที่ยังรอส่งมอบรถนานถึงปลายปี แนวทางที่สาม ปรับปรุงต้นทุนการผลิตใหม่ทุกช่องทางเพื่อ ให้สามารถแข่งขันได้
     "ค่าเงินบาทที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ควรจะอยู่ที่ระดับ 29-30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้นภาครัฐควรจะหามาตรการในการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินบาท ไม่ให้แข็งค่าต่ำกว่านี้นานเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสทางการค้าไม่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย"
 -อุตฯไฟฟ้าฯเล็งลงทุนอิเหนา   
     นายศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ผลกระทบไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่า แต่อุตสาหกรรมยังมีปัญหาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ถึง 2 ครั้ง  ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเริ่มมีแนวคิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นแทน โดยมองอินโดนีเซียเป็นประเทศแรกที่จะไปลงทุน เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่และประชาชนยังขาดแคลนในเรื่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก
    "หากค่าเงินต่ำกว่า 29 บาท ถือว่าขาดทุนแล้ว ขณะนี้ทำได้คือ การต่อรองราคากับลูกค้าในการปรับราคา ซึ่งจะมีผลทำให้จำนวนสินค้าส่งออกลดลงเช่นกัน จากมูลค่าการส่งออกของกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 1.8-1.9 ล้านล้านบาท ถือเป็นตัวเลขการส่งออกที่สูงที่สุด หากเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น "
-ห่วง6-9เดือนที่เหลือแพ้คู่แข่ง
    ด้านนายสุกิจ คงปิยาจารย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ส.อ.ท. เปิดเผยว่า เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจะกระทบรุนแรงกับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ที่ไม่สามารถแข่งขันกับอินโดนีเซีย จีนและเวียดนามได้ในอีก 6-9 เดือนข้างหน้า เนื่องจากทั้ง 3 ประเทศนี้ค่าเงินอยู่ในระดับคงที่และมีแนวโน้มอ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับของไทยนับวันที่จะแข็งค่ามากขึ้น
    "ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ทำประกันความเสี่ยงจากการรับออร์เดอร์ผลิตสินค้าช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงระดับ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯไปแล้ว หากจะรับออร์เดอร์ใหม่ ในระดับค่าเงินบาทที่เป็นอยู่เช่นนี้ ก็จะทำให้สินค้าส่งออกแข่งขันยากขึ้น และขาดทุน จากแต่ละปีที่มีมูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องนุ่งห่มจะอยู่ประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ "
    สอดคล้องกับนายวีระชัย คุณาวิชยานนท์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ส.อ.ท. กล่าวว่าค่าเงินบาทตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นไปแล้วถึง 6-8 % เมื่อเทียบกับในภูมิภาคนี้แข็งค่าขึ้นไม่ถึง 2 % ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้จะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ลดลงจากปีนี้คาดว่าจะอยู่ในระดับ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ    
*บาทแตะ 27 บาทส่งออกโตแค่ 3%
    ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจผู้ประกอบการทั่วประเทศเกี่ยวกับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงที่เงินบาทอยู่ที่28.80-29.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระบุว่าค่าเงินที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ที่30.48 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และการแข็งค่าของเงินบาทที่ผู้ประกอบการรับได้อยู่ที่ 29.18 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หากแข็งค่าถึง 27-27.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้ผู้ประกอบการ12.4% ต้องปลดคนงาน และทำให้ผู้ประกอบการ9.8% ต้องปิดกิจการลง
    "หากค่าเงินบาท สามารถประคองอยู่ที่ 28 - 28.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้การส่งออกขยายตัว 6 - 8% แต่หากบาทแข็งค่าที่ 27 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งออกจะขยายตัวเพียง  3 % และจะทำให้เศรษฐกิจ (จีดีพี)ประเทศ โตที่  4 - 5% " 
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้รายงานมูลค่าส่งออกในรอบไตรมาสแรกปี 2556 ( ม.ค. - มี.ค.  ) อยู่ที่  56,966.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพิ่มขึ้น 4.26  % และเฉพาะเดือนมีนาคม มีมูลค่าอยู่ที่ 20,769.6  ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โต 4.55% เทียบจากปีก่อนหน้า    
*โบรกฯจ้องหั่นเป้ากำไรบจ.
    นายสุกิจ  อุดมศิริกุล กรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด  (มหาชน) กล่าวว่าตั้งแต่ต้นปี 2556 ถึงปัจจุบันเงินบาทแข็งค่าประมาณ 6-7 % และเสี่ยงที่จะแข็งค่าต่อเนื่องนั้น จึงมีโอกาสที่ฝ่ายวิจัยบล.เมย์แบงก์ กิมเอ็งฯจะทบทวนการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน(บจ.)สำหรับปี2556  จากปัจจุบันที่คาดว่าเติบโตจากปีก่อน 20 % โดยกลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด คือ สินค้าเกษตร เนื่องจากมีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์  ดังนั้นจึงแนะนำชะลอการลงทุนในหุ้นกลุ่มส่งออก ซึ่งบริษัทจะมีการทบทวนอัตราการเติบโตของกำไรบจ.อีกครั้งหลังผ่านครึ่งปีแรกไปแล้ว
    นางภรณี  ทองเย็น ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัยหลักทรัพย์บล.เอเซีย พลัสฯ กล่าวถึงผลกระทบที่คาดว่าจะมีต่อตลาดหุ้น คือ กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายหรือฟันด์โฟลว์ หากธปท.ออกมาตรการสกัดบาทแข็ง ซึ่งคงจะเป็นโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติหาจังหวะขายหุ้นไทยออกมาก็เป็นได้ หลังจากที่ซื้อสะสมต่อเนื่องจากปี 2555 ดังนั้นจึงประเมินว่าปี 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯจะปรับขึ้นสูงสุดไม่เกิน 1,600 จุด อิงจากอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (พีอี เรโช)ที่ 17-18 เท่า  โดยแนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่ยังได้ประโยชน์จากบาทแข็งค่า หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการน้ำ นำโดยกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มธนาคารพาณิชย์

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,838 วันที่  25 - 27  เมษายน พ.ศ. 2556




ข่าวสารน่ารู้

คาดกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ได้รับผลบวกจากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน article
กกร.ชี้ผลกระทบข้อพิพาทการค้าสหรัฐฯ-จีนส่งผลจำกัดต่อส่งออกไทย article
'ทุนฝรั่ง' จ่อเข้าเอเชีย! จับตา 'สหรัฐฯ' กีดกันการค้า เขย่าตลาดหุ้นโลก article
เงินบาทแข็งค่าเป็ด 31.18 บาทต่อดอลลาร์ฯ สงครามการค้ากดดันตลาดการเงินระยะสั้น article
เปิดศึกกีดกัน 'สหรัฐ-อียู' ลุย ไทยถูกลูกหลง! article
สงครามการค้าตั้งเค้า หลัง‘ทรัมป์’เสนอรีดภาษีเหล็กนำเข้า article
พาณิชย์ปลื้ม!! ส่งออกเดือน ม.ค. พุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี article
กสิกรไทยประเมินกรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า(19-23 ก.พ.) ที่30.70-31.40 บาทต่อดอลล่าร์ฯ
เรียนรู้จากเวียดนาม เรื่องใบเหลืองจากอียูกรณี IUU article
ผ่าโครงสร้าง “ค่าแรงขั้นต่ำ” “SMEs-ธุรกิจบริการ-เกษตร” กระทบหนักสุด article
ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำปี’61 ทุกจังหวัด 5-22 บาท กระทบศก.ไทยในวงจำกัด article
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 สดใส ส่งออกและลงทุนภาครัฐคือกลจักรสำคัญ article
เหล็กขึ้นราคา รับเหมาก่อนสร้างจุก article
ทำไมไทยต้องเข้า TPP l โอฬาร สุขเกษม article
พาณิชย์กางแผนส่งออกปี 59 มุ่ง 50 เมืองจีดีพีสูงเป้าโต 4% article
เหล็กเส้นร้อง'ประยุทธ์'ช่วยด่วน หลังสมอ.ไฟเขียวเทรดเดอร์ 2 รายนำเข้าจากจีนดัมพ์ราคา article
เวียดนามคึกคัก ร่วมประชาคมเครษฐกิจอาเซียน article
ไตรมาส 3 'สหวิริยา' อ่วม บุ๊คด้อยค่า SSI UK 2.7 หมื่นล. article
‘ทียูเอฟ’ลุยซื้อกิจการต่อเนื่อง
คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้นฉุดทองคำปิดร่วง
ไทยออยล์รายงานราคาน้ำมันดิบ 7 พ.ย.
รมว. คลังชี้ต้องปฏิรูปภาษีอย่างจริงจัง
มะกันคว่ำบาตรหมีส้มหล่นไทย
หุ้นเทสโกดิ่งต่ำสุดรอบกว่า11 ปี ส่วนมูลค่าทางการตลาดของบริษัทลดลง 178 ล้านปอนด์
เทสโก้ เครือข่ายค้าปลีกโลก สัญชาติอังกฤษ เผชิญภาวะขาลง ทั้งกำไรร่วง เจอเรื่องอื้อฉาวแจงกำไรสูงเกินจริง
พานิชย์จับมือเอกชนดันส่งออกโตยั่งยืน
อัดงบจัดแสดงสินค้าในภูมิภาค
บริษัท เจเอฟ อี สตีล จำกัด ผู้ผลิตแผ่นเหล็กเคลือบจากดินแดนอาทิตย์อุทัย ถอนการลงทุนจากเวียดนามแล้ว
โลกจับตา สกอตแลนด์ลงประชามติแยกตัวจากอังกฤษวันนี้
ลุยหักด่านอียู-สหรัฐ แนะทุกฝ่ายหันคบค้าพันธมิตรเอเชียทั้งจีน ญี่ปุ่น อาเซียนเพิ่มขึ้น article
ผวา โอบามา คว่ำบาตร เอกชนเครียด 2 แรงบวกทุบส่งออก/เชื่ออียู - มะกันไม่กล้าตัดสัมพันธ์ไทย article
พาณิชย์ ทำโรดแมพเร่งด่วน เอกชนขนทีมบินเจรจาสหรัฐ ถอด กุ้ง-ทูน่า พ้นบัญชีค้ามนุษย์ article
ลดชั้นต่ำสุด ไทยค้ามนุษย์ article
ส่งออกผวา GSP มะกันหมดอายุ article
การเจรจา FTA ไทย-สหภาพยุโรปกับความมั่นคงทางอาหาร article
ส่งออกกุ้งสาหัสขาลงรอบ 25 ปี article
ทัพธุรกิจไทยตะลุยเวียดนาม article
ส่งออกกุ้งดิ้นสู้ 'ซีวีดี'มะกันห่วงอินเดียบวกอินโดฯแซง article
ส่งออกโวย 4 สายเดินเรือต่างชาติ article
3 สถาบันมองต่างพณ.หดส่งออก article
จี้คลัง-ธปท.ดังกฎคุมบาทชี้ 'สงออก-บริโภค'Q2 ยังเสี่ยงชะลอตัวถึงติดลบ article
พรานทะเลเปิดตัว 'ข้าวมือถือ' article
เอกชนชง 5 มาตรการเสนอแบงค์ชาติ-คลัง ช่วย ผปก.กระทบบาทแข็ง article
อุตฯชงครม.23 เม.ย.เสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบจ้างงานขั้นต่ำ 300 บ. article
2 ล้านล. ซ้ำแรงงาน เล็งปั้น 'แขกขายโรตี' เป็นโฟร์แมน/จี้รัฐนำเข้าทดแทน article
ลุ้น 2 เดือนกุ้งไทยพ้นวิกฤติ EMS article
แนะซื้อประกันความเสี่ยงรับวิกฤติไซปรัส article
ซีพีลุยขยายลงทุนกัมพูชา-ลาว article
ด่านสิงขรเปิดถาวรเม.ย.ยันพม่าไฟเขียวแล้ว article
เส้นทางเบอร์ 1 กุ้งโลกก้าวต่อไปยิ่งสุงยิ่งหนาว
ธุรกิจเชียร์ 'โอบามา' หวังมะกันสานต่อคิวอี 3โด๊ปศก./หวั่น 'รอมนีย์' กร้าวทำโลกระอุ article
สเปน แบนปลาทูน่ากระป๋อง 5 ชาติเตือนไทยพบสารตกค้าง article
วิกฤติยุโรปป่วน! อุตฯเหล็กทั่วโลก
ทุกสำนักแห่หั่นเป้าจีดีพี สัญญาณร้ายส่งออก-การบริโภคทรุดเกินคาด
สภาธุรกิจไทยฯ เปิด 9 อุตฯ รับก.ม.ลงทุนใหม่ของพม่า
ทูน่ากระป๋องอ้อนรัฐช่วย article
อาหารไทยไม่พ้นพิษยูโรโซน คาดโต 5.1%
เพื่อเป้าส่งออก 15% มิสชัน อิมพอสสิเบิล article
เอกชนผวาแรงงานพม่าขาด article
ราชาทูน่าโลก "ธีรพงศ์ จันศิริ" จากผู้ผลิตสู่เจ้าของแบรนด์ดัง article
รีแพรนด์ 'ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น' ผู้เชี่ยวชาญอาหารทะเลโลก article
ส่งออกไตรมาส 2 อ่วม กุ้งไก่สับปะรดกระอัก article
วิสัยทัศน์ รมต.คลัง สั่งบาทอ่อนส่งออกโต อย่ามองโลกด้านเดียว article
วัตถุดิบทูน่าส่อวิกฤต article
ชง ปู2 ดันเหล็กต้นน้ำแสนล.
เช็คราคาเหล็กปีนี้มี 2 ปัจจัยกดดัน
'ซีแวลูกรุ๊ป'ลั่นผงาดรับปีมังกร article
มาม่า-ปุ้มปุ้ยรับอทุกภัยเพิ่มกำลังผลิตเต็มสูบ article
ปุ้มปุ้ยแตกไลน์ผลิต article
ส่งออกเครียดมะกันยื้อจีเอสพี
พาณิชย์หวังสูงส่งออกโต 20 %



Copyright © 2010 All Rights Reserved.

 
 


บริษัท โอเรียนเต็ลแคน จำกัด

สำนักงานใหญ่
18/24 หมู่ 5 ซอยต้นสน ถนนเศรษฐกิจ ตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร 74000 Tel: (0) 3446 8899 Fax: (0) 3483 1028
สาขาหาดใหญ่ 92 หมู่ 4 ถนนสายเอเชีย 43 ตำบลนาหม่อม อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา 90310 Tel: (0) 7453 6335 Fax: (0) 7453 6489
www.orientalcan.com